เมนู

ผูกคือมาร ก็ฉันนั้น เมื่อหมุนเวียนไปในสงสาร ย่อมติดตามคือไปตาม
มรณะถ่ายเดียว ไม่ไปตามอมตนิพพาน อันได้แก่ ไม่ตาย.
จบอรรถกถาทุติยกามสูตรที่ 4

5. ลกุณฐกภัททิยสูตร



ว่าด้วยรถคืออัตภาพ



[151] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระลกุณฐกภัททิยะกำลังเดินมาข้างหลังของภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-
ลกุณฐกภัททิยะเป็นคนค่อม มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู พวกภิกษุดูหมิ่น
โดยมาก เดินมาข้างหลังของภิกษุเป็นอันมากแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุนั่น เป็นคน
ค่อม มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู พวกภิกษุดูหมิ่นโดยมาก กำลังเดินมา
ข้างหลังๆ ของภิกษุเป็นอันมากแต่ไกลหรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
เห็นแล้ว พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็
สมาบัติที่ภิกษุนั้นไม่เคยเข้าแล้ว ไม่ใช่หาได้ง่าย ภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่งที่
สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
รถคืออัตภาพ มีศีลอันหาโทษมิได้เป็นองค์ประ-
ธาน มีหลังคาคือบริขารขาว มีกำคือสติอันเดียว
แล่นไปอยู่ เช้าดูรถคืออัตภาพนั้นอันหาทุกข์มิได้
มีกระแสตัณหาอันตัดขาดแล้ว หาเครื่องผูกมิได้
แล่นไปอยู่.

จบลกุณฐกภัททิยสูตรที่ 5

อรรถกถาลกุณฐกภัททิยสูตร



ลกุณฐกภัททิยสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺพหุลานํ ภิกฺขูนํ ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต ความว่า วันหนึ่ง
ท่านพระลกุณฐกภัททิยะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมากเที่ยวบิณฑบาตใน
ละแวกบ้าน ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ล้างบาตรใส่ถลก คล้องไว้ที่บ่า จีบ
จีวร พาดจีวรแม้นั้นไว้บ่าซ้าย มีการก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู
คู้ เหยียด น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เป็นเหมือน
ประกาศความไพบูลย์ด้วยสติและปัญญาของตน ตั้งสติสัมปชัญญะไว้มั่น
มีจิตเป็นสมาธิ ทอดเท้าก้าวย่างไป และเมื่อจะไปก็ตามหลังภิกษุทั้งหลาย
ไป ไม่ปะปนด้วยภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยการ
ไม่คลุกคลี. อนึ่ง ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมดูหมิ่นรูปของท่านว่า น่าดูหมิ่น
เป็นที่ตั้งแห่งความดูหมิ่น. พระเถระทราบดังนั้น จึงเดินไปข้างหลัง ด้วย